This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

CANON EOS-M เทคโนโลยีกล้องถอดเปลี่ยนเลนส์ไร้กระจก



        CANON EOS M กล้องดิจิตอลซิงเกิ้ลเลนส์ แบบไม่มีกระจกสะท้อนแสงครั้งแรกของแคนนอนที่วงการกล้องทั่วโลกจับตามมอง มีการรวบรวมเทคโนโลยีสุดล้ำของ EOS เพื่อปฏิวัติระบบกล้องแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ในรูปทรงกะทัดรัด หน้าตาเป็นมิตรกับนักถ่ายภาพระดับเริ่มต้นด้วยหน้าตาคล้ายกับกลุ่มกล้องคอมแพคที่คุ้นเคยอยู่แล้วในตลาด

        EOS M มาพร้อมกับหน้าจอทัชสกรีนขนาด 3 นิ้ว ทรงพลังด้วยเทคโนโลยีถ่ายภาพจากการเลือกใช้เซ็นเซอร์ความละเอียด 18 ล้านพิกเซล และชิปประมวลผลภาพอัจฉริยะ DIGIC 5 เช่นเดียวกับกล้องดิจิตอล EOS รุ่นก่อนหน้านี้ เพื่อให้คุณเก็บทุกความทรงจำได้อย่างสมบูรณ์แบบในระดับเดียวกับ DSLR มาในรูปทรงขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบาและดีไซน์ทันสมัย แต่คงความแข็งแกร่งด้วยบอดี้ขึ้นรูปจากวัสดุแม็กนีเซียม อัลลอยด์

        EOS M สามารถใช้งานร่วมกับเลนส์ตระกูล EF-M ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ และใช้เลนส์ตระกูล EF และ EF-S ได้เมื่อใช้ร่วมกับ Adapter โดยเลนส์ใหม่ 2 รุ่น ที่ออกมารองรับได้แก่ Canon EF-M 18-55mm f/3.5-5.6 IS STM และ Canon EF-M 22mm f/2 STM

        EOS M บันทึกวีดิโอ ระบบออโต้โฟกัส (Movie SERVO AF) ต่อเนื่องจะทำงานด้วยความนุ่มนวลยิ่งขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับเลนส์ใหม่ที่มีระบบ STM (Stepper Motor) ช่วยให้ไม่เกิดเสียงรบกวนขณะปรับโฟกัสภาพ นอกจากนั้นยังสามารถปรับโฟกัสเองได้ตลอดเวลาไม่ต้องกลัวเกิดอาการกรตุกเหมือนเลนส์รุ่นทั่วไป









       คาดว่าจะเริ่มจัดจำหน่ายในทุกสาขาทั่วประเทศราวเดือนตุลาคม ชาว Photolista ต้องอดใจรอเล็กน้อยรับรองได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดแน่นอน เพราะเราเป็นศูนย์รวมกล้องดิจิตอล ที่มีความสุขให้เลือกมากที่สุด

เครดิต bigcamera

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Yongnuo YN-560...Slave แฟลชที่ OK ที่ราคาถูกโครต ๆ

Yongnuo YN-560 Testing


(รูปจากเว็บเจ้าของเขาครับ ผมไม่เคยถ่ายรูปแฟลชเลย ขออภัย วันหลังมีโอกาสจะถ่ายมาให้ครับ)

การถ่ายภาพในงานของผมทุกครั้ง เรียกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ต้องใช้แฟลชครับ ซึ่งที่ผ่านมา 580 EX II 2 ตัว และชุดไฟขนาดกลางอีก 1 ชุด ก็พอเพียงครับ แต่ต่อมา ความรู้สึกขี้เกียจขนไปแต่ละที่มันเกิดขึ้น ชุดไฟจึงนอนแช่อยู่ออฟฟิศครับ จึงหาวิธีการประยุกต์ด้วยการใชัแฟลชแทน ซึ่งที่มีอยู่คือ 580 EX II 2 ตัว บางครั้งก็เอาอยู่ แต่หลายครั้งก็เอาไม่อยู่ คือแสงยังไม่ได้ตามที่ต้องการ คิดจะซื้อ 580 EX II อีก ก็เกรงใจกระเป๋าตัวเองจะฉีก (เหอะ ๆ ๆ) จึงอ่านบทวิจารณ์เจ้า Yongnuo YN-560 หรืออ่านแบบจีนก็ โย่งนัวร์ วายเอ็น 560 จากเว็บเมืองนอก ก็พอสรุปได้ว่า มันเป็นตัวสำรองได้อย่างดี จึงลองซื้อมา 2 ตัวครับ ตัวละ 2,500 บาท ซื้อที่ไหนเพื่อน ๆ ก็ลองกูเกิลดูแล้วกัน มีอยู่ที่เดียวที่ขายราคานี้และรับประกัน 30 วัน นานพอควร (จึงต้องทดสอบเยอะ ๆ ไง เพราะเสียก็เปลี่ยนใหม่ได้เลย อิอิ) กะว่าราคานี้ หากไม่เวิร์กก็ถือว่า เหมือนซื้อหวยแล้วกัน (มีถูกกับไม่ถูกไง)

ผลคือ เวิร์กครับ เวิร์กยังไง อ่านต่อครับ



สเปกคร่าว ๆ ก่อน
- เจ้า Yongnuo YN-560 นี่ไกด์นัมเบอร์มันเท่ากับ 580 EX II ครับคือ GN58 ที่ ISO100 ระยะ 105 มม. แต่มันไม่มีระบบ TTL หรือ E-TTL นะครับ มันสร้างมาเพื่อการ Manual เท่านั้น (ถึงถูกไงล่ะ)
- มี Reflection Board (แผ่นสะท้อนแสง) และ Wide-angle diffuser (ตัวกระจายแสง) เหมือน 580 EX II ยังไงยังงั้น (แข็งแรงด้วยอ่ะ)
- รัศมีทำการมันก็เหมือน 580 EX II คือตั้งแต่ 24-105 mm ปรับบีมได้สะดวก
- จะตั้งให้มีเสียงเตือนวีด.ด.ด.ด.ด.ด.ด ก็ได้ หรือไม่ให้มีเสียงก็ได้
- รับกับ Canon ST-2 ได้อย่างดี (ตั้ง YN-560 ไปที่ S1 ด้วยนะ)
- สภาพพลาสติกที่ทำ ก็ดูดีมีชาติตระกูลนะครับ ไม่ก๊องแก๊ง
- คอบิดได้รอบตัว ไม่ต้องปลดล็อกเหมือนแคนนอน
- มีตาแมวในตัว (ตรงนี้แหละที่ตัดสินใจซื้อ)
- กำลังไฟที่ป้อนให้ขณะใช้งาน 3 วินาทีต่อการชาร์ต 1 ครั้ง กรณีถ่านไฟเต็ม
- น้ำหนักจะเบากว่า 580 นิดนึง หรือแทบจะเท่ากัน

ก็ประมาณนี้ครับ เอาอะไรมากกับแฟลช 2,500 บาท

การทดสอบ
ที่จริง ไม่อยากเรียกการทดสอบ เพราะผมเอาไปใช้งานจริงครับ
การใช้งานของผมคือ ทำเป็น Slave ตัวที่ 2 และ 3 ครับ โดยเอาไปติดกับแฟลชร่มทะลุตัวที่ 2 (บางทีติด YN-560 2 ตัวเลยกับร่ม 1 ตัว) ซึ่งตัวแรกผมใช้ 580 EX II เพื่อให้มันยิงสั่งไปที่ตาแมวของ YN-560 (ปรับแฟลช YN-560 ไปที่ S1 ก่อนนะ)

ผมปรับซูมแฟลชไปที่ 28 กับ 35 คละกัน (28 ซะมากกว่า เพื่อให้แสงกระจาย)



ก่อนถ่ายจริง ก็ทดสอบแสงกันพอเป็นพิธี ซึ่งหากมีเครื่องวัดแสงก็แจ่มเลย คงไม่ต้องเสียเวลาทดสอบ แต่ขณะนี้ยังไม่มีครับ อิอิ คิดว่าจะซื้อเร็ว ๆ นี้ หากซื้อมา คงช่วยในเรื่องเวลาได้มาก จะได้ไม่ต้องทดสอบให้เสียเวลามาก

ผลการทำงานจริง เป็นที่น่าพอใจ ติดทุกครั้งตลอดการทำงาน (ครั้งละประมาณ 50 ภาพขึ้นไป)

ที่จริง หากไม่ให้มันเป็น Slave รับจาก 580 EX II มันก็ทำงานเป็น Master ได้ครับ เพราะผมใช้ Canon Speedlite Transmitter ST-E2 หรือเรียกกันติดปากว่า ST-E2 หรือ Transmitter

การทำให้ YN-560 เป็นมาสเตอร์ก็ง่ายครับ เพียงปิดแฟลช 580 EX II ไม่ให้ทำงานแล้วใช้ ST-E2 เป็นตัวสั่งเจ้าแฟลชสัญชาติจีนตัวนี้ ก็สามารถทำได้ เพียงแต่เวลาใช้งานนอกสถานที่จริง ๆ ที่มีแฟลชของคนอื่นยิงด้วยนั้น ไม่เหมาะ เพราะมันจะรับทั้ง ST-E2 ของเรา และมันยังทำงานเป็นตาแมวรับแสงแฟลชจากชาวบ้านด้วย เรียกว่า ทำงาน 2 อย่างไปในตัว เอากับเขาซิ ฉะนั้น เหมาะกับงานเดี่ยว ๆ ที่ไม่มีแฟลชของใครมากวนครับ

เนื่องจากผมมี YN-560 2 ตัว ผมก็เลยให้มันอยู่กับแฟลชร่มตัวที่ 1 และ 2 ได้เลย จากนั้นก็ปรับ ๆ ๆ ๆ ทดสอบให้เหมาะ ซึ่งไม่นานครับ ทดสอบเพียงไม่กี่ชอร์ต ก็ได้แสงจนพอใจ (ตั้งที่ 5-6 ขีด บีมที่ 28 มม.) ก็ถ่ายจริงเลย

ผลคือ ทำงานได้อย่างดีเยี่ยมครับ ไฟออกทุกครั้งที่ถ่าย และแสงก็สม่ำเสมอดีตามกำลังแบตเตอรี่ เสียงชาร์ตแบตวีด.ด.ด.ด.ด ทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น เพราะรู้ว่ามันพร้อมเมื่อไหร่ก็ยิงได้ทันที ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่กี่วินาที

ขณะนี้ใช้ไปร่วมเดือน ถ่ายโดยใช้ YN-560 ไปกว่า 300 ภาพ (ไม่รวมถ่ายเล่นอีกไม่รู้กี่ร้อยภาพ) ผลเป็นที่น่าพอใจครับ ไม่กินแบตมากเหมือนแฟลชแมนนวลทั่วไป เรียกว่า ใช้เป็นแฟลชสำรองได้อย่างน่าพอใจ เนื่องจากทีแรกกะว่าจะซื้อ 580 EX II มาใช้อีก 2 ตัวครับ แต่ตอนนี้ล้มเลิกความคิดนี้ไปแล้วครับ เอา YN-560 ดีกว่า 5,000 บาท ซื้อได้ตั้ง 2 ตัว

อ้อ สำหรับท่านที่ไม่มี Canon Speedlite Transmitter ST-E2 ก็อาจจะใช้แฟลชหัวกล้องสั่งงาน YN-560 ก็ได้ หรือจะใช้ร่วมกับ Flash Trigger รุ่นต่าง ๆ ก็ได้ หรือจะเอา YN-560 เป็นแฟลชหัวกล้องก็ได้ เพียงแต่ปรับโหมดไปที่ M เท่านั้น

ภาพล่างนี้ เป็นบรรยากาศการใช้กับแฟลชร่มร่วมกับ 580 EX II ครับ โดยแฟลชร่มตัวที่ 2 ผมติดเป็น YN-560

ภาพล่างนี้ ผู้ช่วยผมถือ (คนขวาสุดที่ผมยืนบัง) 580 EX II ส่วน YN-560 คือตัวขวาของภาพ




สองภาพล่างนี้ เป็นภาพที่ได้จากการทำงานร่วมกันระหว่าง Yongnuo YN-560 และ 580 EX II ซึ่งเป็นที่น่าพอใจสำหรับผมครับ



หมายเหตุ
- การทดสอบนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัวของผมนะครับ ไม่เกี่ยวกับร้านค้าใดหรือเจ้าของสินค้าใด
- ส่วนแฟลช Manual ยี่ห้ออื่นที่ราคาถูก ๆ เหมือนกันยังไม่เคยมีโอกาสทดสอบ ขอไม่แสดงความเห็นครับ
- ทดสอบกับ Cannon 40D, 500D




ข้อควรจำ
1. มันเป็นแฟลช Manual ไม่ใช่ TTL
2. ควรใช้มันให้เชื่องก่อนเอาไปลงสนาม
3. ซื้อมาปุ๋บ ทดสอบให้หนำใจ เพราะเลยกำหนดประกัน (30 วัน) นอกจากเปลี่ยนไมไ่ด้ ผมก็ยังไม่รู้ว่า ค่าซ่อมตามร้านซ่อมแฟลชทั่วไป จะคุ้มกันไหม เพราะแค่เปิดฝา ก็ตีไป 500 บาทแล้วอย่างต่ำ เหอะ ๆ ฉะนั้น ทดสอบให้หนำใจก่อนครับ
4. มันราคาถูกมาก ไม่ควรคาดหวังว่ามันจะทำงานได้เหมือนแฟลชราคาร่วม 2 หมื่น
5. คนที่ไม่ชอบปรับ Manual ไม่ควรซื้อครับ เพราะยุ่งยาก
6. ราคาแฟลชและการรับประกัน จะไม่เหมือนกันในแต่ละร้าน สำหรับผม เลือกราคาถูกที่สุดและประกันนานที่สุด (30 วันเอง)


เครดิต thaidphoto.com

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Noise คืออะไร..??



Noise ที่เกิดจากการถ่ายภาพคืออะไร..??

แล้วทำไมต้องมี Noise ??

แล้วเกิด Noise แก้ยังไง ??

เรามาหาคำตอบกัน

noise มันคืออะไร? หรือเราจะใส่เสียงให้ภาพ อะยังไง เรามาดูความหมายกันดีกว่า
1. noise คือ จุด จุด ที่เกิดขึ้นบนภาพ หรือเรียกว่าเป็นความหยาบของภาพ เวลาขยายภาพใหญ่ขึ้น จะสังเกตเห็นร่องรอยเหล่านี้ ภาพจะไม่เนียน ความสวยลดน้อยลงนะค่ะ 
2. เพราะ ISO สูงอย่างเดียว จะทำให้ภาพที่ได้ ไม่คมชัด ไม่ละเอียด รวมทั้งสีสรรก็จะเพี้ยนไป จึงจำเป็นต้องปรับ ISO ให้เหมาะกับแสงในช่วงเวลาที่ถ่าย..(รูป)
การตั้งค่า ISO โดยปกติ เราจะตั้งค่าให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดี ส่วนเรื่องแสงไม่พอค่อยไปแก้ปัญหากันต่อ เช่น ใช้ขาตั้งช่วย เป็นต้น



สาเหตุที่เกิด Noise เพราะว่ากล้องที่มีเซนเซอร์ขนาดเล็ก เวลาเจอแสงที่มืดจะปรับค่า iso ที่สูง
เวลาถ่ายรูปออกมาจึงเกิด noise

การแก้ Noise บางคนบอกว่าแก้ใน Photoshop ก็ได้ไม่เป็นไรหนิ แต่ ถ้าในกรณีรูปที่ถ่ายมามีจำนวนมาก จะมานั่งแก้กันทีละภาพคงไม่ไหว หรือบางคนสะดวกที่จะใช้ก็ไม่ผิดอะไร 
แต่อีกหนึ่ง วิธีสามัญประจำกล้อง คือ การแก้จากตัวกล้องเอง เช่น การใช้ค่า ISO น้อยๆ (อาจใช้ไม่ได้ในกรณีไม่มีขาตั้ง) ทำไมต้องมีขาตั้งเข้ามาเกี่ยวด้วยหล่ก็ถ้าเรามีขาตั้ง เราสามารถใช้การลดสปีดชัตเตอร์ให้อยู่ในค่าที่เหมาะสม เช่น iso 100 รู้รับแสง 1.8 หรือ 2.8 ก็ว่าไป (แล้วแต่เลนส์)
เราก็ตั้งสปีดไว้ที่ 1/5 หรือมากกว่านั้น (กรณีนี้ใช้ได้สำหรับวัตถุนิ่ง หรือ สถานที่นะครับ) แล้วถ้าไม่มีขาตั้งหล่ะ ถ้าไม่มีจริงๆ แนะนำเปิดแฟลชไปเลยครับ ช่วยได้เยอะมาก แต่ถ้า noise ยังเยอะอยู่ก็คงต้องอาศัย software ของกล้องช่วยด้วย มีหลายยี่ห้อที่ออกตัวช่วยในการลด Noise ส่วนมากจะมีในรุ่น Dslr like - Dslr ค่าย Canon , Nikon , Fujifilm , Sony จะมีตัวช่วยให้คุณได้แน่นอนครับผม

บทความที่เขียนโดย Navapon Sriburin

12 เรื่องน่ารู้ การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล

กล้องดิจิตอลแม้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับกล้องใช้ฟิล์มคือ แสงแผ่นเลนส์ ผ่านรูรับแสง และม่านชัตเตอร์ ไปตกกระทบกับเซ็นเซอร์ภาพ (ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ CCD) ก่อนกดชัตเตอร์กล้องจะปรับโฟกัสและวัดแสง หรือจะปรับตั้งเองก็ได้ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ แต่ด้วยความที่เป็นดิจิตอล ทำให้ ปรับแต่ง ฟังก์ชั่น หรือลูกเล่นต่างๆ ได้มากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในกล้องใช้ฟิล์ม จึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติม และ ทำความเข้าใจให้ดี จึงจะใช้กล้องดิจิตอลได้อย่างคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ และได้ประโยชน์สูงสุด




1. ปิดสวิตซ์ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน กล้องดิจิตอล มีระบบการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทำให้สิ้นเปลืองแบตเตอรี่มาก ควรปิดสวิตซ์ทุกครั้งที่เลิกใช้งาน จะช่วยให้คุณถ่ายภาพได้มากขึ้น โดยไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยๆ หากมีฟังก์ชั่น Auto off ให้ตั้งเวลาปิดอัตโนมัติเมื่อไม่ได้ใช้งาน 30 หรือ 60 วินาที



2.ใช้แบตเตอรี่ชาร์จดีกว่า กล้องดิจิตอลหลายรุ่นใช้แบตเตอรี่แบบ AA อัลคาไลน์ โดยแถมมาให้ด้วย 2 หรือ 4 ก้อน แต่คุณอาจตกใจเมื่อใส่แบตเตอรี่ใหม่เข้าไป กดชัตเตอร์ถ่ายไป 20-30 ภาพ โดยเปิดดูภาพ จากจอมอนิเตอร์ และใช้แฟลชถ่ายภาพ แบตเตอรี่ก็หมดเสียแล้ว ขอแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้แบตเตอรี่แบบ นิเกิล-เมทัลไฮไดร์ (NiMH) ซึ่งชาร์จไฟเพิ่มได้ ราคาก้อนละ 100-150 บาท เลือกแบบที่ให้กำลังไฟ 1000-1500 มิลลิแอมป์ จะถ่ายภาพได้นานขึ้น ถ้าหมดก็ชาร์จใหม่ ซื้อเผื่อไว้สัก 2-3 ชุดก็จะดี ส่วนกล้องที่แถมแบตเตอรี่ NiMH หรือ Li-ion มาให้อยู่แล้ว อาจซื้อเพิ่มอีกสักหนึ่งชุดเผื่อฉุกเฉิน



3. ดูภาพในช่องมองออฟติคัล ในกล้องใช้ฟิล์มแบบ SLR หรือ คอมแพค เราจะมองภาพจากช่องมอง ซึ่งกล้องดิจิตอลก็มีเช่นกัน เรียกว่าช่องมองภาพออฟติคัล ออกแบบให้สัมพันธ์ กับทางยาวโฟกัส ของเลนส์ทุกช่วงซูม และยังดูภาพจากจอมอนิเตอร์แบบ LCD ทางด้านหลังได้ด้วย ทำให้ผู้ใช้นิยมดูภาพจาก
มอนิเตอร์แทน แต่วิธีนี้แบตเตอรี่จะหมดเร็วมาก ควรใช้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเช่น การถ่ายภาพมาโครระยะใกล้ๆ ซึ่งจะให้มุมภาพ ที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ถ้าถ่ายภาพไกลๆ ซัก 5 เมตรขึ้นไป ให้ดูจากช่องมองภาพ แบบออฟติคัลแทน




4.เปลี่ยนไปใช้การ์ดความจุสูง การ์ดจัดเก็บภาพมีหลายแบบ เช่น CF, Microdrive, SmartMedia, Memory Stick, SD, MMD เป็นต้น ปัจจุบันมีความจุสูง และราคาที่ลดลง เช่น CF ความจุ 128 MB หาซื้อได้ในราคาเพียง 3,000-4,000 บาทเท่านั้น (สองปีก่อนราคา 17,000-20,000 บาท) ปัจจุบันการ์ด CF มีจำหน่ายในขนาด 512 MB แล้ว ต้นปีหน้าจะมีขนาด 1000 MB หรือ 1GB ตามออกมาอีกหลายยี่ห้อ หรือการ์ด Microdrive (ใช้แทนการ์ด CF ได้ในบางยี่ห้อ) ความจุ 340, 500 และ 1000MB ก็น่าสนใจ เพราะเทียบขนาดความจุแล้ว ถูกกว่ามากทีเดียว แต่เป็นการ์ดแบบฮาร์ดดิสก์ ต้องระวังอย่าให้ตกหล่นจะเสียหายได้ง่าย เมื่อการ์ดมีความจุสูง ก็จะช่วยให้ถ่ายภาพได้มากขึ้น ในบางครั้งเมื่อไม่แน่ใจเรื่องสภาพแสง อาจถ่ายภาพคร่อม เผื่อไว้หลายๆ ภาพ แล้วค่อยมาเลือกภาพที่ดีที่สุดภายหลัง



5.อย่าใส่การ์ดขณะเปิดสวิตซ์กล้อง เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ควรใส่การ์ดขณะที่สวิตซ์กล้องถูกเปิดอยู่ และควรใส่การ์ดด้วยความระมัดระวัง ให้ใส่การ์ดเข้าไปตรงๆ ในด้านที่ระบุไว้ในคู่มือ หากใส่ผิดด้านจะใส่ไม่ได้ อย่าไปฝืนโดยเด็ดขาด หากจะให้ผู้อื่นยืมไปใช้ควรอธิบายให้เข้าใจด้วยทุกครั้ง




6.ใช้แฟลชภายนอก กล้องบางรุ่นสามารถใช้แฟลชภายนอกได้ โดยเสียบเข้ากับฮอทชู หรือสายซิงค์แฟลช วิธีนี้ทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้นและใช้งานได้ไกลกว่าแฟลชขนาดเล็กที่ติดอยู่บน ตัวกล้อง การใช้แฟลช ที่มีกำลังไฟสูงภายนอก ทำให้ใช้รูรับแสงแคบได้ ส่งผลให้ภาพมีระยะชัดลึกมากขึ้น และ ประหยัดแบตเตอรี่ที่ตัวกล้อง เพราะไม่ต้องใช้แฟลชที่มีอยู่ในตัว



7.ล็อคภาพสำคัญเอาไว้ กล้องบางรุ่นมีฟังก์ชั่นล็อคภาพ ป้องกันการลบโดยไม่ตั้งใจ เพราะส่วนใหญ่เน้นให้ลบภาพทิ้งได้ง่ายๆ เพื่อถ่ายภาพใหม่ต่อไป ทำให้เผลอลบภาพสำคัญทิ้งไป ดังนั้นหลังจากถ่ายภาพจนได้ภาพที่พอใจแล้ว ควรกดปุ่มล็อคภาพทุกครั้ง




8.จัดเก็บภาพด้วยซีดีรอม หลังจากถ่ายภาพจนการ์ดเต็มแล้ว เรามักถ่ายโอนภาพทั้งหมด ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งภาพจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณจะมีมากแค่ไหน แต่ถ้าเกิดปัญหาเสียขึ้นมา ภาพที่คุณอุตส่าห์ถ่ายมาทั้งหมดก็จะสูญหายไปทันที เพื่อความปลอดภัย ควรบันทึกภาพลงแผ่นซีดี-รอม ซึ่งมีความจุ 650-700 MB ต่อแผ่น ราคา 20-30 บาทเท่านั้น ควรเลือกแผ่นซีดี ที่มีคุณภาพเช่น Kodak Fujifilm หรือ Sony ซึ่งมีความคงทนเก็บรักษาได้ยาวนานหลายสิบปี ส่วนเครื่องเขียนแผ่นซีดี ราคาลดลงมาก ประมาณ 4,000 บาทขึ้นไป และควรเขียนแผ่นซีดีไว้สองแผ่น เก็บรักษาไว้โดยไม่นำมาใช้งานหนึ่งแผ่น อีกแผ่นสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป ถ้าแผ่นซีดีเสียหายหรือสูญหายยังมีต้นฉบับอีกแผ่น นำมาก๊อปปี้เพื่อใช้งานได้อีก



9.ซูมขยายภาพดูความคมชัด ฟังก์ชั่นดิจิตอลที่ผมใช้บ่อยคือ หลังจากถ่ายภาพไปแล้ว ให้กดปุ่มซูมขยายภาพขึ้นมาดู โดยซูมให้มากที่สุดจากนั้นเลื่อนดูส่วนต่างๆ ของภาพว่าคมชัดเพียงพอหรือไม่ บางครั้งการถ่ายภาพด้วยช่วงซูมเทเล แล้วเปิดรูรับแสงกว้าง ระยะชัดลึกจะน้อยมาก ทำให้ความคมชัด มีเฉพาะบางส่วนเท่านั้น หากเป็นกล้องใช้ฟิล์ม ต้องรอหลังจากล้างฟิล์มแล้ว ถึงจะรู้ว่า ภาพที่ได้ มีความคมชัดดีมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ ในกรณีที่ถ่ายภาพ ด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แล้วไม่มั่นใจว่า ภาพจะคมชัดเพียงพอ สามารถซูมขยายภาพขึ้นมาดูได้เช่นกัน



10. ปรับความสว่างของจอมอนิเตอร์ หากคุณถ่ายภาพโดยวัดแสงให้พอดี แล้วพบว่า ภาพที่ปรากฎ บนจอมอนิเตอร์ มืดเกินไปหรืออันเดอร์ อย่าเพิ่งโทษว่าระบบวัดแสงผิดพลาด ลองโหลดภาพ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ แล้วเปิดภาพนั้นดู ขอแนะนำให้ใช้ซอพท์แวร์เปิดภาพที่แถมมาพร้อมกล้อง ถ้าพบว่าภาพสว่างพอดี แสดงว่า จอมอนิเตอร์มืดเกินไป ให้เลือกเมนูปรับเพิ่มความสว่างจนเท่ากับที่ปรากฎบนจอคอมพิวเตอร์



11. ใช้กราฟฮีสโตแกรม กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีฟังก์ชั่น แสดงกราฟฮีสโตแกรมบนจอมอนิเตอร์ ทำให้ทราบได้ทันทีว่า ภาพที่ถ่ายไปแล้วมีโทนภาพดีมากน้อยแค่ไหน หากส่วนที่เป็นชาโดว์ (โทนมืด) หรือส่วนที่เป็นไฮไลท์ (โทนสว่าง) ไม่ดีพอ สามารถปรับแก้ไขโทน หรือ คอนทราสท์จากฟังก์ชั่นเมนู แล้วถ่ายภาพใหม่จนได้โทนภาพดีที่สุด แม้ว่าจะสามารถปรับแก้ไขโทนภาพจากซอพท์แวร์ตกแต่งภาพเช่น Adobe Photoshop ก็ตาม แต่การถ่ายภาพให้มีโทนภาพดีที่สุด โดยไม่ต้อง ปรับแต่ง หรือ ปรับเพียงเล็กน้อย จะให้ภาพที่ดีกว่า มีรายละเอียดครบถ้วน ตั้งแต่ส่วนสว่างที่สุด จนถึงมืดที่สุดในภาพ



12. เลือกใช้ฟอร์แมท RAW หรือ TIFF กล้องดิจิตอลมักมีฟอร์แมทภาพให้เลือกใช้ 2 อย่างคือ JPEG เป็นการบีบอัดภาพให้มีขนาดไฟล์เล็กลง เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บภาพ มีข้อเสียคือคุณภาพลดลง การไล่เฉดสีไม่ดีพอ เพราะแสดงดีได้เพียง 24 บิต หากต้องการภาพคุณภาพสูงสุด ควรเลือกฟอร์แมท RAW หรือ TIFF ซึ่งจะไม่มีการบีบอัดข้อมูล อีกทั้งการ์ดจัดเก็บภาพในปัจจุบันมีความจุสูง และราคาที่ลดลงตามลำดับ ในอนาคตอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฟอร์แมท JPEG อีกต่อไป และฟอร์แมท RAW ยังสามารถ บันทึกภาพ ให้แสดงสีได้ 12 บิตต่อสีหรือ 36 บิต (RGB) การไล่เฉดสีจึงดีเยี่ยม ได้ภาพที่ดูเป็นธรรมชาติ เช่นเดียวกับการใช้ฟิล์ม



ที่มา : Shutterphoto.com

ถ่ายภาพอย่างไรให้ถ่ายภาพ หน้าชัด หลังเบลอ

ถ่ายภาพอย่างไรให้ถ่ายภาพ หน้าชัด หลังเบลอ
คำถามยอดฮิตที่หลายๆ คนพยายมเพียรเฝ้าหาคำตอบ แต่ก็มักจะไม่ได้คำตอบที่สามารถทำได้ 100% สักที เหตุผลเพราะมีหลากหลายปัจจัยที่ต้องควบคุมให้แต่ โดยเฉพาะผู้ใช้กล้องดิจิตอลคอมแพค ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากเกินตัวไปสักนิด  อย่างไรก็ตาม วันนี้จะมาแนะนำทิปในการถ่ายภาพ หน้าชัด หลังเบลอ ถ่ายภาพ หน้าชัด หลังเบลอ ด้วยกล้องดิจิตอล SLR 3 ทิปในการถ่ายภาพ หน้าชัด หลังเบลอ

ทิปที่จะแนะนำต่อไปนี้ เหมาะสำหรับกล้องดิจิตอล SLR น่ะครับ ส่วนกล้องดิจิตอลคอมแพคเกือบทุกรุ่น มักมีปัญหาในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามกล้องบางรุ่น อาจสามารถปรับทำตามทิปต่อไปนี้ได้บ้าง ยังไงก็ลองนำไปทดสอบกันดูน่ะครับ
วิธีที่ 1 เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด

เรียกว่าเป็นวิธีมาตราฐานที่ง่ายสำหรับกล้องดิจิตอล SLR เลย การเปิดรูรับแสงแนะนำให้เปิดประมาณ  2.0 - 3.5  สำหรับตัวอย่างค่ารูรับแสดง ได้แก่ F 2.0, F 2.8, F 3.5, F 4.0, F 5.6, F 8.0, F 16 เป็นต้น ค่าตัวเลข F ที่มาก หมายถึง การเปิดค่ารู้รับแสงน้อยน่ะครับ อย่าจำผิดน่ะครับ

วิธีที่ 2 เข้าใกล้นายแบบ นางแบบ หรือวัตถุที่ใช้ในการถ่ายภาพให้มากที่สุด อาจใช้เลนส์ประเภท Macro หรือใช้เลนส์ประเภท Telephoto แทนก็ได้

วิธีที่ 3 ตำแหน่งฉากหลังให้อยู่ไกลที่สุด ช่วยได้เยอะมากสำหรับวิธีนี้ แต่ก็ค่อนข้างลำบากสำหรับการถ่ายทำในสตูดิโอ หรือในสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด ยังไงก็ลองวางวัตถุบนโต๊ะ คนถ่าย ถ่ายจากด้านล่างมองขึ้นไปด้านบนก็ช่วยให้ฉากหลังไกลได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน ลองนำไปประยุกต์กันดูน่ะครับ
สำหรับกล้องดิจิตอลคอมแพค

อาจทดสอบโดยใช้ทิปวิธีที่ 3 ก็ได้น่ะครับ น่าจะช่วยได้มาก แต่ถ้าไม่ได้ ลองหาซื้อกล้องประเภทที่มีโหมดในการถ่ายหน้าชัดหลังเบลอมาเลยจะดีกว่า ทุ่นเวลาได้มากเลย (ความฟุ้งของความเบลอ อาจไม่สามารถทำได้มากเช่นกัน)


ขอบคุณที่มาจาก : compact-dslr.com

มารู้จักกับรูรับแสงของเลนส์



มารู้จักกับรูรับแสงของเลนส์
เอฟสตอป (f stop number) หรือขนาดรูรับแสง เป็นกลไกอย่างหนึ่งในการควบคุมปริมาณแสงที่ส่งผ่านไปยังเซนเซอร์รับภาพ (Image Sensor) ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่อง หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น ในตอนนี้เราจะมาดูกันถึงการใช้งานและประโยชน์จากการปรับตั้งค่ารูรับแสง


ค่าเอฟสตอป หรือ ขนาดรูรับแสง (บางตำราอาจเรียก"ช่องรับแสง") คือค่าการเปิดรับแสงของเลนส์ โดยใช้กลีบม่านหรือไดอะแฟรมที่อยู่ภายในกระบอกเลนส์เป็นตัวควบคุม ในยุคแรกๆของกล้องถ่ายภาพ ค่ารูรับแสงจะแบ่งเป็นขั้นละหนึ่งสตอป การควบคุมขนาดรูรับแสงทำได้ด้วยการหมุนวงแหวนปรับรูรับแสงที่ตัวเลนส์โดยตรง เนื่องจากเลนส์ยุคก่อนเป็นระบบกลไกล้วน ต่างจากเลนส์ในยุคดิจิตอลที่ใช้ระบบอิเลคทรอนิคเป็นตัวควบคุมและสั่งการได้จากตัวกล้อง เราจึงไม่เห็นวงแหวนปรับรูรับแสงในเลนส์รุ่นใหม่ๆที่ผลิตออกมา การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เราสามารถปรับขนาดรูรับแสงได้อย่างละเอียดขึ้น โดยแบ่งเป็นขั้นละ 1/3 สตอป หรือ 1/2 สตอป ต่างจากเลนส์แมคคานิค ที่เป็นกลไกล้วนโดยมากจะปรับได้ขั้นละ 1 หรือ 1/2 สตอป

ตัวอย่างค่ารูรับแสงที่แบ่งเป็นขั้นละ 1 สตอป จะมีดังนี้ f1 / f1.4 / f2 / f2.8 / f4 / f5.6 / f8 / f11 / f16 / f22 / f32 / f45 / f64 
ตัวเลขแสดงค่ารูรับแสงจะให้ผลตรงกันข้ามกับปริมาณการเปิดรับแสงของเลนส์ เช่นค่ารูรับแสง f2 จะให้ปริมาณแสงมากกว่าขนาดรูรับแสง f2.8 อยู่ 1 สตอป มากกว่า f4 อยู่ 2 สตอป หมายความว่ายิ่งเลือกใช้ค่ารูรับแสงมากขึ้น ม่านไดอะแฟรมในตัวเลนส์ก็จะยิ่งหรี่เล็กลง แสงจะผ่านไปยังเซนเซอร์ได้น้อย
เพื่อไม่ให้สับสนควรจำให้ได้ว่า ค่าตัวเลขน้อยขนาดรูรับแสงกว้าง ค่าตัวเลขมากขนาดรูรับแสงแคบ


CANON EOS 40D เลนส์ซูม EFS 17-85 l กล้องดิจิตอลพร้อมเลนส์ ควบคุมการทำงานด้วยระบบอิเลคทรอนิค
ขนาดรูรับแสงปรับตั้งด้วยสวิทช์ที่ตัวกล้อง เลือกปรับละเอียดได้ขั้นละ 1/3 สตอป


ภาพเปรียบเทียบการทำงานของไดอะแฟรมในตัวเลนส์ ที่เป็นตัวควบคุมปริมาณแสงภาพแรกเปิดรูรับแสงกว้างสุดของเลนส์คือ f1.2 ส่วนภาพที่สองลดขนาดรูรับแสงลงเหลือ f2 จะสังเกตุเห็นม่านไดอะแฟรมหรี่เล็กลงเพื่อลดปริมาณแสงที่จะผ่านไปยังตัวเซนเซอร์ของกล้อง


ภาพแสดงให้เห็นการหรี่ของไดอะแฟรมเมื่อปรับเลือกขนาดรูรับแสงตามค่าต่างๆ ในตัวอย่างเป็นขนาดรูรับแสงที่มีค่าต่างกันภาพละ 1 สตอป
ในเลนส์แต่ละตัวจะมีค่ารูรับแสงกว้างสุดและแคบสุดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการออกแบบ เลนส์ที่มีขนาดรูรับแสงกว้างมากจะมีราคาสูงกว่า เมื่อเทียบกับเลนส์ที่มีขนาดทางยาวโฟกัสเท่ากันแต่ค่ารูรับแสงกว้างสุดแคบกว่า เนื่องจากเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงกว้างมากจำเป็นต้องใช้ชิ้นเลนส์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อการรวมแสงที่ดี ต้องได้รับการออกแบบเป็นพิเศษและแน่นอนขนาดและน้ำหนักก็จะมากตามไปด้วย

ขนาดรูรับแสงที่กว้างกว่าหมายถึงโอกาสที่จะได้ภาพนั้นมีมากขึ้นด้วย เมื่อจำเป็นต้องถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยเลนส์ที่สามารถเปิดรับแสงได้มากกว่าย่อมมีโอกาสได้ภาพมากกว่า

ตารางแสดงค่ารูรับแสงSTANDARD FULL STOP F-NUMBER SCALE (ขนาดรูรับแสงมาตรฐาน ขั้นละ 1 สตอป)
f -stop0.50.71.01.422.845.6811162232456490128

ONE-HALF-STOP F-NUMBER SCALE (ขนาดรูรับแสงขั้นละ 1/2 สตอป)
f-stop1.01.21.41.722.42.83.344.85.66.789.51113161922

ONE-THIRD-STOP F-NUMBER SCALE (ขนาดรูรับแสงขั้นละ 1/3 สตอป)
f-stop1.01.11.21.41.61.822.22.52.83.33.544.555.66.37.1891011



ขอบคุณที่มาจาก : zmos.net

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนะนำกล้องค่าย Fujifilm HS30


Fuji HS 30


กึ่งมืออาชีพ | 16 ล้านพิกเซล | Exmor 
กล้องดิจิตอลความละเอียด 16 ล้านพิกเซล ซูม ออพติคอล 30 เท่า ความยาวโฟกัส 24-720mm หน้าจอ lCD 3 นิ้ว น้ำหนัก 687 กรัม

วางจำหน่ายเมื่อ มีนาคม 0 

ราคาประมาณ 15,990 บาท




คุณสมบัติทางเทคนิค Fuji HS 30


 หน่วยประมวลผล
เซนเซอร์รับภาพ
EXRCMOS 1/2 inch (6.4 x 4.8 mm)
ความละเอียดใช้งาน
16 ล้านพิกเซล
โปรเซสเซอร์
Exmor
 เลนส์
ความยาวโฟกัส
24-720mm
รูรับแสง
F2.8 - F5.6
ออพติคอลซูม
30
ดิจิตอลซูม
2
 ชัตเตอร์
ความเร็วชัตเตอร์
30 - 1/4000 วินาที
 การโฟกัส
ชนิดโฟกัส
Tracking Single Continuous Face Detection
มาโคร
1
 ระบบเกี่ยวกับแสง
ระบบวัดแสง
Multi, Center-weighted, Spot
ระบบชดเชยแสง
+/- 2.0EV in 0.3EV steps
ความไวแสง (ISO)
Auto, 100, 200, 400, 800, 1600, 3200 (6400 and 12800 with boost)
สมดุลแสงสีขาว (WB)
6
 ช่องมองภาพและ LCD
ช่องมองภาพ
มี Electronic viewfinder 920,000 dots
ขนาดจอ LCD
3
ความละเอียดจอ
460,000 dots
จอสัมผัส (Touch screen)
-
ชนิดหน้าจอ (Screen type)
-
 แฟลช
แฟลชในตัว
-
ระบบแฟลช
Auto, On, Off, Red-Eye, Slow Sync
ระยะแฟลช
7.1 m (Wide: 30cm - 7.1m / Tele: 2.0m - 3.8m )
แฟลชภายนอก
Hot shoe for TTL flash
 ภาพเคลื่อนไหว
ภาพเคลื่อนไหว
MPEG-4
ระยะเวลาบันทึกภาพเคลื่อนไหว
MPEG-4
ไมโครโฟน
-
ลำโพง Speaker
-
 หน่วยความจำ
หน่วยความจำภายใน
20 MB
หน่วยความจำที่ใช้
SD/SDHC/SDXC
 ไฟล์และการเชื่อมต่อ
ไฟล์ภาพนิ่ง
JPEG , RAW
ภาพ 3 มิติ
-
ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว
Full HD 1920 x 1080 pixels (30 fps), 1280 x 720 pixels (30 fps),
เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
USB 2.0 High Speed
เชื่อมต่อทีวี
AV ( NTSC / PAL )
เชื่อมต่อไร้สาย WiFi
-
 อื่นๆ
GPS
-
การใช้งานแบตเตอรี่
-
ชนิดแบตเตอรี่
Li-ion NP-W126 ถ่ายได้ประมาณ 600 ภาพ
กว้าง สูง ลึก
131 x 97 x 126 mm
น้ำหนักตัวกล้อง
687 กรัม
เมนูภาษาไทย
มี